สวนพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วิทยาเขตโป่งสลอด


      ในปีงบประมาณ 2564 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ ได้รับมอบหมายจัดทำสวนพฤกษศาสตร์ในพื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอด โดยจัดตั้งฝั่งบริเวณทิศเหนือของอาคาร ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่ การดำเนินการในปีแรกเป็นการปรับพื้นที่โดยคงไม้ยืนต้นเดิมไว้ ทำการสำรวจชนิดของพรรณไม้ในพื้นที่ได้ประมาณ 37 ชนิด เช่น ยอป่า แสมสาร แจง ตะโกนา มะม่วงหัวแมงวัน สะเดา หนามพรม ข่อย มะขาม นนทรี ขันทองพยาบาท และโพธิ์ เป็นต้น และจะดำเนินการจัดทำพื้นที่เก็บรวบรวมพรรณไม้ประเภทหัว เช่น กระเจียวขาว กระเจียวขาวปากเหลือง เปราะใหญ่ กระทือลิง และว่านหาวนอน และกล้วยไม้ป่า เช่น หมูกลิ้ง ในพื้นที่ป่าสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อเป็นการรวบรวม ขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากพื้นที่

        ซึ่งได้ดำเนินการปรับพื้นที่ และจัดทำโครงสร้างภายในสวนพฤกษศาสตร์ ตามคำแนะนำของคุณณัฐพงษ์ ลาภมี อดีตผู้จัดการโครงการสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มูลนิธิชัยพัฒนา พื้นที่ที่จะจัดทำสวนพฤกษศาสตร์ ดินค่อนข้างแย่ช่วงฤดูแล้งดินจะแห้งมาก ช่วงฤดูฝนหน้าดินจะซับน้ำไว้แต่ไม่มาก คุณณัฐพงษ์เลยแนะนำให้วางโครงสร้างในพื้นที่เป็นถาดขนมครก จำนวน 14 หลุม
    1. เพื่อกักเก็บน้ำในช่วงฤดูฝน หรือเติมน้ำลงไปในถาดขนมครกบางหลุม
    2. เพื่อการกระจายความชื่นในดิน

    3. เป็นการทำลายโครงสร้างของดิน (จากดินที่แห้งความชื้นน้อย ก็จะมีความชื้นเพิ่มขึ้น)
    4. การเพิ่มธาตุอาหาร โดยการใส่ปุ๋ยคอกในหลุมร่วมกับเศษใบไม้กิ่งไม้ และโรยปุ๋ยคอกให้ทั่วบริเวณในพื้นที่เพื่อเป็นการปรับปรุงดิน

       จากสำรวจพรรณไม้ในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ไปแล้วนั้น จะดำเนินการสำรวจพรรณไม้ในช่วงฤดูฝนอีกครั้ง และในพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์มีการกระจายตัวของต้นแสมสารในพื้นที่มากที่สุด และทำการปักหลักต้นไม้ที่ปลูกไว้เมื่อปี 2561 ซึ่งมีต้นพยุง แดง และมะค่า