ตะคร้อขนาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : SAPINDACEAE

ชื่อพื้นเมือง : ตะคร้อหนาม เคาะหนาม เคาะหยุม ปันรัว มะจ๊กหนาม มะโจ๊กหนาม มะโจ๊กหยุม

รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดกลาง สูง ๖-๑๕ เมตร ผลัดใบ ตามลำต้นมีหนามโตๆ ทั่วไป เรือนยอดรูปกรวยต่ำ เปลือกสีเทาหรือเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่เรียงสลับระนาบเดียว แกนช่อใบยาว ๑๔-๑๘ ซม. มีขนสีน้ำตาล ใบย่อย ๓-๔ คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่แกมรูปขอบขนาน กว้าง ๔-๗ ซม. ยาว ๘-๑๖ ซม. ปลายใบแหลมโคนใบเบี้ยว หรือรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ด้านล่างมีขน เส้นแขนงใบข้างละ ๙-๑๔ เส้น ก้านใบยาว๓-๕ มม. ดอก ช่อแบบช่อกระจะ สีขาว ออกตามซอกใบ บริเวณปลายกิ่ง ยาว ๑๕-๒๐ ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ ๔-๕ กลีบ เป็นคลื่น อับเรณูตรงกลางสีแดงสด ดอกบานเต็มที่กว้าง ๑-๑.๔ ซม. ผล แห้งแตกค่อนข้างกลมขนาด ๒.๕-๓.๕ ซม. มีหนามอ่อนปกคลุมคล้ายเงาะ ยาว ๐.๕-๑.๕ ซม. สีเขียวอมน้ำตาล ผลแก่แตกมีเมล็ด ๑-๓ เมล็ดเนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง หอม รับประทานได้ เมล็ดผิวเกลี้ยงขนาดประมาณ ๑ ซม.

ประโยชน์

เมล็ดกลั่นน้ำมัน ใช้จุดตะเกียงและปรุงเครื่องสำอาง