ตะขบป่า

ชื่อวิทยาศาสตร์ : FLACOURTIACEAE

ชื่อพื้นเมือง : ตานเสี้ยน มะเกว๋นนก มะเกว๋นป่า

รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๒-๑๕ เมตร ผลัดใบเรือนยอดแผ่กว้าง ตามลำต้น และกิ่งใหญ่มีหนามแหลม ยาว ๒-๔ ซม. แตกกิ่งต่ำเปลือกสีน้ำตาลหรือสีเทาแตกเป็นร่องลึกและล่อนเป็นแผ่น ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่กลับ กว้าง ๑.๕-๕ ซม.ยาว ๒-๑๐ ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบสอบเรียว ขอบใบเรียบหรือจักเล็กน้อย เส้นแขนงใบข้างละ ๔-๖ เส้นก้านใบยาว ๓-๕ มม. ใบอ่อนและเส้นกลางใบสีแดงอมส้ม ดอก สีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อกระจะสั้น ตามซอกใบและปลายกิ่ง ที่โคนช่อมีใบประดับ ดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้ฐานดอกมน เกสรตัวผู้จำนวนมาก ดอกบานเต็มที่กว้าง ๑ ซม.ดอกเพศเมีย มีกลีบดอก ๕ กลีบ มีก้านเกสรเพศเมีย ๕-๖ อัน ดอกบานเต็มที่กว้าง ๓-๕ มม. ผล สดแบบมีเนื้อ ทรงกลมขนาด ๑-๑.๕ ซม. สุกสีแดงปนส้ม หรือม่วงปนดำ สีมันมีก้านเกสรเพศเมียรูปดาวติดอยู่ที่ปลายผล มี ๕-๘ เมล็ด

ประโยชน์

ผลมีวิตามินบีสูง แก้อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน และเป็นยาระบาย เปลือกต้น ชงกินแก้เสียงแห้ง ใบสดเป็นยาลดไข้สำหรับเด็ก น้ำต้มใบแห้งขับเสมหะ ขับลม แก้หืดหอบเมล็ดตำพอกแก้ปวดข้อ