คงคาเดือด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : SAPINDACEAE

ชื่อพื้นเมือง : หมากเล็กหมากน้อย ช้างเผือก ตะไล้ ตะไล คงคา สมุยกุย

รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดกลาง สูง ๘-๒๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ทึบ เปลือกสีเทาอมดำ เรียบหรือแตกล่อนเป็นแผ่น ใบ ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ใบย่อย เรียงตรงข้ามหรือเยื้องกัน ๔-๕ คู่ ใบรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง ๒.๕-๔ ซม. ยาว ๔.๕-๗ ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบหรือเบี้ยว ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบบางสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างสากมือ เส้นแขนงใบข้างละ๑๐-๑๒ เส้น ก้านใบย่อยยาว ๒-๖ มม. ดอก สีน้ำตาล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๓๐-๔๐ ซม. กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอก ๒-๔ กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง๑-๑.๕ ซม. ผล ผลแห้งแก่แตก สีน้ำตาลมีปีก ๓ ปีก ขนาด ๓-๕.๕ ซม. มี ๓ เมล็ดต่อผล เมล็ดค่อนข้างกลมสีดำ

ประโยชน์

เปลือกแก้พุพอง น้ำเหลืองเสียและแก้โรคผิวหนังเปื่อยเน่า แก้ร้อนใน เจริญอาหาร แก่นฝนกับ น้ำกินเป็นยาฆ่าพยาธิ ต้มน้ำอาบ ช่วยรักษาอาการคัน แสบร้อนตามผิวหนัง และโรคซางในเด็กเล็ก