กระถินไทย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : FABACEAE-MIMOSOIDEAE
ชื่อพื้นเมือง : กระถินยักษ์ สะตอเบา สะตอเทศ สะตอบ้าน กระถินดอกข้าว
รายละเอียด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง ๓-๑๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกเรียบสีเทา ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา เรือนยอดรูปไข่ หรือรูปกลม ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ยาว ๑๒-๒๕ ซม. แกนกลางใบประกอบมีขน แยกแขนง ๓-๑๐ คู่ เรียงตรงข้าม มีใบย่อย ๕-๒๐ คู่ ใบย่อยรูปแถบ หรือรูปขอบขนานแกมรูปแถม ปลายใบ แหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบมีขน ผิวใบด้านล่างมีนวล ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มประกอบตามซอกใบอัดแน่นเป็นกระจุกกลม มี ๑-๓ ช่อ มีกลีบเลี้ยง ๕ กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นรูประฆังปลายแยกเป็นรูปสามเหลี่ยมเล็กๆ กลีบดอก ๕ กลีบ สีขาว มีขน ผล ฝักแบนแห้ง กว้าง ๑.๔- ๒.๐ ซม. ยาวประมาณ ๒๐ ซม. ปลายฝักแหลม โคนฝักสอบ ฝักแก่แตก ตามยาว เมล็ดรูปไข่ แบน สีน้ำตาล
ประโยชน์
ยอดและฝักอ่อนรับประทานเป็นผัก เมล็ดนำมาทำเครื่องประดับ ดอกรสมัน บำรุงตับ รากรสจืด เฝื่อน ขับลม ขับระดูขาว เป็นยาอายุวัฒนะ