เหงือกปลาหมอดอกม่วง Acanthus ilicifolius L

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthaceae

ชื่อพื้นเมือง : เหงือกปลาหมอดอกม่วง

รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มลำต้นเลื้อย สูงประมาณ 1-2 เมตร มีรากค้ำจุน และรากอากาศเกิดจากลำต้นที่เอนนอน ลำต้น กลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทา ลำต้นเป็นโพรง ตั้งตรงแต่เมื่ออายุมากจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่ง ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม มีหนามที่โคนก้านใบ 1 คู่ ใบรูปหอก ขอบใบเว้าหยักเป็นซี่ฟัน ปลายซี่เป็นหนาม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง (ภาพที่ 27) ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผล เป็นฝัก รูปไข่หรือทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ผิวเป็นมัน ออกดอกและผลเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม

ประโยชน์

การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ลำต้นสดตำให้ละเอียดฟอกฝีหรือแผลเรื้อรัง หรือนำมาต้มเอาน้ำอาบแก้เป็นผดและผื่นคัน ตำผสมน้ำรักษาวัณโรค ซูบผอม ทาแก้โรคเหน็บชา ใบ ใบสดนำมาต้มกิน เป็นยาแก้ไข้หัวลม เบาหวาน ขับน้ำเหลืองเสีย พิษฝี แก้ฝีทรวง แก้โรคผิวหนังผื่นคัน แก้ประดง และแก้ฝีทั้งภายนอกและภายใน