ตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis Roem
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Meliaceae
ชื่อพื้นเมือง : ตะบูนดำ
รายละเอียด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20 – 35 เมตร พบขึ้นบริเวณดินเลน ที่ค่อนข้างแข็ง และน้ำทะเลท่วมถึง มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำโผล่ขึ้นจากผิวดินรอบโคนต้น มีลักษณะกลม หรือ แบน ปลายมน ยาว 20 - 40 เซนติเมตร ลำต้น เปลาตรง เนื้อไม้แข็ง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอด เป็นพุ่มกลม เปลือกขรุขระแตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกลอกเป็นแถบแคบๆ ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ ไม่มีใบยอด ใบย่อย 1 – 3 คู่ เรียงสลับตรงข้าม ผิวใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ตะบูนดำจัดเป็นไม้ผลัดใบชนิดหนึ่งในป่าชายเลน ผลัดใบช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม โดยใบจะเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองทั้งต้น ก่อนที่จะล่วงหล่น (ภาพที่ 9) ดอก ออกดอกตามง่ามใบ เป็นช่อ สีขาวครีม โดยออกดอกพร้อมกับการแตกใบใหม่ ดอกมีกลิ่นหอม ผล ค่อนข้างกลม มีร่องเล็กน้อย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7 – 12 เซนติเมตร มี 7 – 11 เมล็ด
ประโยชน์
การใช้ประโยชน์ เปลือกไม้ใช้ในการฟอกหนัง ย้อมแห อวน บางครั้งใช้ย้อมสีเสื้อเป็น สีน้ำตาล ทำดินสอ การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือกไม้มีรสฝาด ใช้แก้อาการท้องเสีย ผิดปกติในช่องท้อง ผลนำมาต้มกับน้ำใช้ล้างทำความสะอาดบาดแผล แก้ท้องเสีย บิด อหิวาตกโรค