ปูม้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
ชื่อพื้นเมือง : ลักษณะทั่วไป กระดองด้านบนทั้ง 2 ข้าง เป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย เป็นหนามแหลม ข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ คู่เป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2-4 มีขนาดเล็ก ปลายแหลม ใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้าย ตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำขนา
รายละเอียด
3. ปูม้า |
Phylum Arthropoda |
Subphylum Crustacea |
Class Malacostraca |
Order Decapoda |
Family Portunidae |
Genus Portunus |
Species pelagicus |
ลักษณะทั่วไป กระดองด้านบนทั้ง 2 ข้าง เป็นรอยหยักคล้ายฟันเลื่อย เป็นหนามแหลม ข้างละ 9 อัน ขามีทั้งหมด 5 คู่ คู่เป็นก้ามใหญ่เพื่อใช้ป้องกันตัวและจับอาหาร ขาคู่ที่ 2-4 มีขนาดเล็ก ปลายแหลม ใช้เป็นขาเดิน ขาคู่สุดท้าย ตอนปลายมีลักษณะเป็นใบพายใช้ในการว่ายน้ำขนาดกระดองสามารถโตเต็มที่ได้ราว 15-20 เซนติเมตร ปูม้าตัวผู้ มีก้ามยาวเรียวมีสีฟ้าอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปทั้งกระดองและก้าม พื้นท้องเป็นสีขาว จับปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมเรียวสูง ปูม้าตัวเมีย มีก้ามสั้นกว่ากระดอง และก้ามมีสีฟ้าอมน้ำตาลอ่อนและมีจุดขาวตกกระทั่วไปทั้งกระดองและก้าม (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งระยอง, 2560)