ตะคร้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : SAPINDACEAE

ชื่อพื้นเมือง : กาซ้อ กาซ้อง ค้อ คอส้ม คุ้ย เคาะ เคาะโจ๊ก โจ๊ก ซะอู่เส่ก ตะคร้อไข่ ตะค้อ ปั้นรัง ปันโรง มะเคาะ มะจ้ก

รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒๕ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดทรงรูปไข่ทึบ แตกกิ่งต่ำลำต้นสั้น มักบิดเป็นปุ่มปมและพูพอน เปลือกสีน้ำตาลอมเทา แตกเป็นสะเก็ด ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับมีใบย่อย๓-๔ คู่ เรียงตรงข้ามกัน หรือเกือบตรงข้าม ใบรูปแบบขนานแกมรูปไข่กลับ รูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง ๕-๘ ซม.ยาว ๙-๒๗ ซม. ปลายใบมนมีติ่งแหลม โคนใบสอบ แผ่นใบหนา ใบอ่อนมีขนตามเส้นใบ เส้นแขนงใบข้างละ ๘-๑๖ เส้นก้านช่อยาว ๕-๑๐ ซม. ดอก ช่อ แบบช่อแยกแขนง สีขาวอมเขียว ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ไม่มีกลีบดอก ดอกสมบูรณ์เพศ ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ มม. ผล สด แบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ทรงไข่แกมขอบขนาน กว้าง ๐.๕-๑ ซม. ยาว ๑-๓ ซม. ปลาย และโคนผลแหลมเปลือกเรียบและเกลี้ยง ผลสุกสีน้ำตาล เนื้อในสีเหลือง เมล็ดรูปไข่

ประโยชน์

ไม้ทำเสาเรือน ด้ามเครื่องมือ เปลือกทำสีย้อม ระงับอาการระคายเคืองผิวหนังและรอยไหม้ ยาสมานท้องเปลือกแก้ท้องร่วง น้ำมันในเมล็ดแก้ผมร่วง ผลสุกมีรสเปรียวอมหวาน