แดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : FABACEAE - MIMOSOIDEAE

ชื่อพื้นเมือง : กร้อม คว้าย จาลาน ปราน ไปรน์ เพ้ย ผ้าน

รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง ๒๕ เมตร ผลัดใบ เรือนยอด รูปทรงกลมหรือทรงกระบอก ลำต้นค่อนข้างเปลาตรง เปลือกสีเทาปนเขียวเรียบหรือแตกล่อนเป็นแผ่นบางๆ ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคู่ เรียงสลับ ช่อย่อยมี ๑ คู่ออกที่ปลายช่อใหญ่มีต่อมระหว่างซอกช่อย่อยแต่ละช่อย่อยมีใบย่อย ๔-๕ คู่ เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่แกมรูปขนานกว้าง ๔.๕-๙ ซม. ยาว ๗-๒๐ ซม. ปลายใบแหลมหรือมน โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้นนุ่มสีน้ำตาล เส้นแขนงใบข้างละ ๘-๑๑ เส้น ก้านใบยาว ๒-๕ มม. ดอก สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุก ตามปลายยอดหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่งกลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังปลายแยก ๕ แฉก กลีบดอก ๕ กลีบ ช่อดอกรวมกลมกว้าง ๒-๒.๕ ซม. ผล ฝักแห้งแบนและแข็งรูปโค้ง ขั้วผลสอบเรียว ปลายผลเรียวและโค้งงอ ผิวเรียบมีเมล็ดแบนสีน้ำตาล ๑๐ เมล็ด

ประโยชน์

เนื้อไม้ แข็ง เหนียว ทนทานใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ดอกแก้ไข้ ผลแก่ที่แตกอ้าบานออกทำเป็นไม้ประดับแห้งได้