ช้างน้าว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : OCHNACEAE

ชื่อพื้นเมือง : กระแจะ กำลังช้างสาร ขมิ้นพระต้น ควุ แง่ง ช้างโน้ม ช้างโหม ตาชีบ้าง ตานนกกรด ตาลเหลอง ฝิ่น โวโร้

รายละเอียด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดเล็กสูง ๓-๕ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ แตกกิ่งต่ำ เปลือกเรียบสีน้ำตาลใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับใบรูปรีแกมรูปขอบขนาน รูปไข่หรือรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับกว้าง ๒-๖ ซม. ยาว ๖-๒๐ ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม บางครั้งมน โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นห่อเข้า และจักซี่ฟันละเอียด ผิวใบด้านบนเป็นมัน เส้นแขนงใบถี่ มีจำนวนมาก ก้านใบยาว ๕-๘ มม. ดอก สีเหลืองสดออกเป็นช่อแบบช่อกระจะตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ สีเหลืองปนเขียว กลีบดอก ๕ กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้าง ๑.๕-๒ ซม. ผล ผลเมล็ดเดียวแข็ง ทรงไข่ สีน้ำเงินอมดำมีนวลสีขาว กว้าง ๔-๕ มม. ยาว ๘-๑๐ มม. ฐานรองดอกและกลีบเลี้ยงเปลี่ยนเป็นสีแดง เมล็ดรูปไข่

ประโยชน์

ลำต้นต้มน้ำดื่มแก้ปวดหลัง ราก ขับพยาธิ แก้โรคน้ำเหลืองเสีย ใบอ่อนกินกับผักสด