กั้งแก้ว


ชื่อวิทยาศาสตร์ :

ชื่อพื้นเมือง : ลักษณะทั่วไป ลำตัวยาวคล้ายตะขาบ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวมีรูปร่างแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 5 แต่ไม่ถึงปล้องที่ 8 กรีมีลักษณะแบนราบ มีขาทั้งหมด 3 คู่ มีดวงตาขนาดใหญ่ สามารถมองภาพได้ดี ตาแต่ละข้างของกั้งสามารถมองเห็น

รายละเอียด

10. กั้งแก้ว

      Phylum          Arthropoda

           Subphylum      Crustacea

                Class                 Malacostraca

                     Order                   Stomatopoda

                          Family                    Squillidae

                                 Genus                     Harpiosquilla

                                        Species                   harpax

ลักษณะทั่วไป ลำตัวยาวคล้ายตะขาบ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวมีรูปร่างแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 5 แต่ไม่ถึงปล้องที่ 8 กรีมีลักษณะแบนราบ มีขาทั้งหมด 3 คู่ มีดวงตาขนาดใหญ่ สามารถมองภาพได้ดี ตาแต่ละข้างของกั้งสามารถมองเห็นได้ 3 ตา และตาแต่ละดวงมองเห็นภาพได้ 3 ภาพ กั้งมีแก้วตาหลายพันชิ้นและสามารถมองเห็นสีได้ในระดับที่ซับซ้อน ถือว่าเป็นสัตว์จำพวกหนึ่งที่มีระบบการมองเห็นภาพดีที่สุดในอาณาจักรสัตว์ ไม่มีก้ามหนีบ แต่มีระยางค์ส่วนอกคู่ที่ 2 มีลักษณะเป็นก้ามสับขนาดใหญ่พับได้คล้ายมีดโกน และมีซี่ฟันแหลมคมเรียงกันเป็นแถวคล้ายหวี (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 2560 ค)